วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ตอนที่ 9 : DAY 7 ตามรอย Da Vinci Code

วันนี้ตั้งใจจะตามรอย หนัง Da Vinci Code ของ Dan Brown


ซึ่งตั้งแต่หนังสือและหนังออกฉายก็เกิดการถกเถียงและต่อต้านอย่างมากจากคริสตชน ซึ่งเนื้อเรื่องเกิดที่กรุงปารีสและโบสถ์ แซ็งซุลปิซ (Saint Sulpice) ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากโบสถ์นอเตรอดาม (Notre Dame) ในหนังเริ่มเรื่องที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Musee du Louvre) ซึ่งก็มีการเล่าขานว่าแผ่นกระจกที่ประกอบเป็นพีระมิดมี 666 แผ่น ไม่รู้จริงเท็จแค่ไหนเพราะนับไม่ไหว แต่วันนี้เราจะเริ่มที่โบสถ์แซ็งซุลปิซ
เริ่มต้นจากสถานี La Motte นั่งสาย M10 มุ่งหน้า ไปยัง Gare d'Austerlitz ลงที่สถานี Odeon แล้วขึ้น M4 ไปลงสถานี Saint-Sulpice (ตามสถานีจะมีอาสาสมัครวัยรุ่นที่ใช้ภาษาอังกฤษได้มาคอยช่วยนักท่องเที่ยว)

สถานี Saint Sulpice

โบสถ์ Saint Sulpice

ด้านหน้าโบสถ์จะมีน้ำพุและรูปปั้นพระคาดินัลสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทั้ง 4 ทิศ




ทางเข้าโบสถ์สวยมาก


อลังการ

 อ่างศีล


 หน้าต่างกระจกด้านขวาจะมีแผ่นดำและรูเล็กๆเพื่อให้แสงลอดผ่านและตกลงมากระทบเส้น เมอริเดียนไลน์ (Meridian Line) ซึ่งในหนังเรียกว่า เส้นกุหลาบ (Rose Line)


 Meridian Line (Rose Line) ปลายเส้นอีกด้านที่เห็นเป็นเสาหิน เป็นจุดที่ตัวร้ายในหนังทุบแผ่นพื้นเพื่อหาหลักศิลา

จุดที่แสงตกมากระทบ
แท้ที่จริงเส้นเมอริเดียนนี้สร้างโดยนักดาราศาสตร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบาทหลวงในการหาวันเวลา เช่น วันอีสเตอร์ (Easter) วันอิควิน็อกซ์ (Equinoxes) ไม่ใช่เป็นที่ซ่อนหลักศิลาตามในหนัง

ภายในโบสถ์มีแท่นสำหรับผู้เชื่อบูชาหลายจุด





แท่นบูชาพระแม่มารี สวยงามมาก



ออแกนขนาดมหึมา

ภาพผ้าห่อพระศพแห่งตูริน

  • ผ้าห่อพระศพแห่งตูริน ถูกเก็บรักษาอยู่ที่โบสถ์หลวง Cathedral of Saint John the Baptist ใน เมืองตูริน(ทางตอนเหนือของอิตาลี)

  • ส่วนภาพที่ปรากกฏบนผ้าผืนนี้มีความเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ พระเยซูคริสต์ , การตึงกางเขน(crucifixion)เนื่องจากมีปรากฏร่องรอยคล้ายคล้ายรูปคนบนผืนผ้า ทั้งยังรอยคล้ายคราบเลือด บาดแผลในตำแหน่งข้อมือข้อเท้าจากการถูกตึงด้วยตะปูบาดแผลที่สีข้างจากการถูกแทงด้วยหอกลองกินุส และบาดแผลบนศีรษะจากการถูกสวมด้วยมงกุฎหนาม
ออกจากโบสถ์แซ็งซุลปิซ ขึ้นรถไฟฟ้า M4 ไปลงที่สถานี Chatelet ต่อด้วย M1 ไปลงที่ Palais Royal Musee du Louvre เพื่อดูพีระมิดแก้วและพิพิธภัณฑ์ลูฟ คนเยอะมาก อากาศเริ่มร้อน


พีระมิด แองแวร์เซ่ (La Pyramide Inverse) หรือพีระมิดกลับหัว

พีระมิดเล็กเหมือนเงาสะท้อนลงพื้นของพีระมิดแก้ว

Venus


Mona Lisa

ถอดรหัสรูป โมนาลิซา MONALISA = (13+15+14+1)+(12+9+19+1)= 84 
เลโอนาร์โด LEONARDO = (12+5+15+14+1+18+4+15)= 84 

           การที่ลีโอนาร์โดเองมีชื่อที่ ถูกกล่าวขานกันว่าเขาเป็นพวก รักร่วมเพศ จึงเกิดการสันนิษฐานว่า โมนา ลิซ่า ไม่ใช่ผู้หญิงแต่เป็นภาพเหมือนจำแลง เพศของเด็กหนุ่มรูปงามคนใดคนหนึ่ง ซึ่งศิลปินมักเลี้ยงไว้ติดสอยห้อยตามในสตูดิโอ บ้างก็มีการนำภาพเหมือนของ ลีโอนาร์โดมามาเปรียบเทียบกับภาพของ โมนา ลิซ่า แล้วก็สรุปเอาดื้อๆว่าภาพเขียนอันลือชื่อนี้แท้ที่จริงคือภาพของ ลีโอนาร์โด ดาวิน ซี่ เองที่แปลงกาย แต่งตัวเป็นสตรีเพศ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่สนับสนุนทฤษีนี้ยังกล่าวเสริม ต่อไปว่า ลายปักขดเชือกที่รอบคอเสื้อของ โมนา ลิซ่า คือลายเซ็นลับของ ดาวินซี่เอง เพราะในภาษาอิตาเลี่ยนคำว่า "ขดเชือก" จะตรงกับคำว่า "วินชีเร่" (Vincire) 
แม้ว่าบุคคลในภาพ โมนา ลิซ่า ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ครอบครองภาพนี้ยังพอมีข้อมูลอยู่บ้าง นั่นก็คือ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ลีโอนาร์โดไม่ยอมพรากจากภาพเขียนนี้ และเขาได้นำติดตัวพร้อมกับทรัพย์สินสินมีค่าอื่นๆที่เขารัก หวงแหน ออกจากกรุงโรมเมื่อครั้งเดินทางมาที่ฝรั่งเศสเพื่อเป็นศิลปินแห่งราชสำนัก ของพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 (ค.ศ. 1479-1547) ใน ค.ศ. 1517 ด้วยเหตุนี้เองผู้ครอบครองภาพ โมนา ลิซ่า คนแรกก็คือกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งโปรดให้นำภาพไปประดับที่ห้องสรงในพระราชวัง ฟองแตนโบล แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนขึ้นครองราชย์ ภาพโมนา ลิซ่า จึงถูกย้ายมาพำนักในห้องพระบรรทมและมีชื่อเรียกอย่าง สนิทสนมว่า "มาดาม ลิซ่า"




 Sculpture collections


ห้องเสวยของนโปเลียนที่ 3


ช็อปปิ้งในพิพธภัณฑ์ลูฟ

 มีนางเอกกางร่มอยู่คนเดียว 555




รูปปั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ก่อนจาก Musee du Louvre

จาก Louvre ก็เดินข้ามถนนมาเพื่อชม ประตูชัยการ์รูเซล (Arc de Triomphe du Carrousel) ซึ่งพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้สร้างขึ้นเพื่อประกาศชัยชนะของกองทัพฝรั่งเศษต่อออสเตรียในปี 1806 ซึ่งเป็นประตูที่เล็กที่สุดของประตูชัยทั้ง 3 แห่ง

มองเห็นพีระมิดแก้วอยู่ด้านหลัง


ตอนนี้ท้องชักเริ่มหิว จากประตูชัยเดินไปตามถนนไปลอดใต้อาคารออกไปจะเจอร้าน Benlux อยู่ตรงหน้า เดินตรงไปเลี้ยวซ้ายจะมีร้านอาหารญี่ปุ่นอยู่ 2 ร้าน เลือกทานตามสบาย ราคา 7-10 ยูโร






เมื่ออิ่มเรียบร้อยออกเดินต่อไปผ่านสวน ตุยเลอรี (Jardin des Tuileries) ซึ่งเดินตามทางนี้จะทะลุไปถึงถนนช็องเซลิเซ่ (Champs Elysees) ระหว่างทางก็จะมีต้นไม้ รปปั้นต่างๆให้ชมมากมาย จะเห็นชาวเมืองปารีสมาใช้เวลาพักผ่อนที่นี่เยอะแยะเลย




ขอพักเอาแรงแป๊ปค่ะ





ออกจากสวนก็จะพบกับลานคองคอร์ดซึ่งถูกกล่าวถึงว่าเป็นลานประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารีอังตัวแนตพระชายา ซึ่งเป็นการปฏิวัติการปกครองในปี 1789 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย แต่ก่อนลานนี้จะมีรูปปั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15ทรงม้าตั้งเด่นเป็นสง่า แต่เมื่อมีการปฏิวัติได้เอาออกและแทนที่ด้วยเครื่องกิโยตินที่ใช้ประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และสุดท้ายได้นำเครื่องกิโยตินออกไปเพื่อแสดงถึงความขัดแย้งได้ยุติลงแล้ว และนำเสาแท่งหินโอเบลิสค์ (Obelisk) สูง 23 เมตร มาแทน ซึ่งมีอายุ 3300 ปีที่ทางอียิปต์มอบให้ฝรั่งเศษ และสร้างน้ำพุขึ้นมาอีกจุดหนึ่ง

กำลังถ่ายมิวสิควีดีโอ



จากลานคองคอร์ดเดินตรงทะลุถนนช็องเซลิเซ่ (Champs Elysees) ซึ่งถือว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก (แต่ดูแล้วไม่สวยเลย) ซึ่งสองข้างทางจะมีทั้งโรงภาพยนตร์ ร้านค้าแบรนด์เนมมากมาย ตลอดความยาว 2 กิโลเมตรเดินอย่างเพลิดเพลิน 
ขอพักอีกแป๊ป เดินเยอะเกิ๊น..




ถนน ช็องเซลิเซ่ คนเยอะมาก





เดินจนสุดถนนซ็องเซลิเซ่ ก็จะพบจัตุรัสชาร์ลสเดอโกล (Place Charles de Gaulle Etoile) เป็นที่ตั้งของประตูชัยเดอลิทัวล (Arc de Triomphe de l'Etolle) ซึ่งมีความสูง 51 เมตร กว้าง 45 เมตร เราสามารถเข้าไปดูใกล้ๆได้โดยเดินลอดทางเดินลอดถนนจาก ซ็องเซลิเซ่ แล้วไปโผล่ขึ้นที่ฐานของประตูชัย







จากประตูชัยจะกลับไปที่หอไอเฟลอีกครั้ง เพื่อจะขึ้นไปดูดวงอาทิตย์ยามเย็นที่ยอดหอไอเฟล  เดินไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานี Charles de Gaulle Etoille สาย M1 ไปลงสถานี Concord แล้วต่อสาย M8 ไปลงที่สถานี La Motte แล้วเดินต่อไปที่หอไอเฟล เข้าแถวซื้อบัตรขึ้นลิฟท์ไปชั้นบนสุด คนละ 15 ยูโร ต่อแถวเกือบชั่วโมง หรือถ้ามีแรงเยอะก็สามารถเลือกเดินขึ้นบันไดไปได้ครึ่งทาง 5 ยูโร ถึงช่วงกลางหอไอเฟล















ลงจากหอไอเฟลก็ดึกละ เดินกลับโรงแรมที่พักใกล้ๆหอไอเฟล พักผ่อนเตรียมตัวพรุ่งนี้ พบกันที่วังแวร์ซายส์ (Chateau de Versailles) ต่อด้วย ประตูชัยลาเดฟองซ์ (Grande Arche de la Defense)
หลับฝันดีค่ะ.....